::3ENEWS:: 3E CMU ร่วมกับกองทุน ววน. โชว์ความสำเร็จการรับมือฝุ่นผ่านนวัตกรรมมอบเครื่อง Dust Boy อุปกรณ์อัจฉริยะเฝ้าระวัง-แจ้งเตือนมลพิษช่วยกลุ่มเปราะบางรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3E) ร่วมกับกองทุน ววน.โชว์ความสำเร็จการรับมือฝุ่นผ่านนวัตกรรมมอบเครื่อง Dust Boy อุปกรณ์อัจฉริยะเฝ้าระวัง-แจ้งเตือนมลพิษช่วยกลุ่มเปราะบางรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3E) ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเทศบาลเมืองลาดสวาย จังหวัดปทุมธานี ร่วมผลักดันการนำงานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากในปี 2568 สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 โดยภาพรวมของจังหวัดปทุมธานี มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือขึ้นสีแดงติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CCDC) พร้อมด้วยกองทุน ววน. และ สกสว. จึงได้ดำเนินกิจกรรมส่งมอบเครื่อง DustBoy อุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศระบบเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ ที่ได้รับงบประมาณการวิจัยจาก วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารงานวิจัยของประเทศ (PMU) ให้กับสถานศึกษา โรงพยาบาล ชุมชนที่มีกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในเขตพื้นที่เทศบาลลาดสวาย อ.ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อช่วยในการเฝ้าระวังและเตือนภัยปัญหาฝุ่นและหมอกควันในพื้นที่ ทำให้ประชาชนสามามารถรู้เท่าทันสถานการณ์และป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นข้อมูลให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิจัย นำไปใช้วิเคราะห์แนวโน้มมลพิษ พร้อมวางนโยบายในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาพรวมของประเทศและละออกมาตรการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนื่อจากการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมแล้วนั้น กองทุน ววน.ได้มุ่งขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ กองทุน ววน. และ สกสว. ได้สนับสนุนให้เกิดการนำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาฝุ่นในมิติต่าง ๆ เช่น การลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดภาคการเกษตร ป้าไม้ และคมนาคม ตลอดจนการใช้ Big Data เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหา
สำหรับ DustBoy เป็นเครื่องมือวัดปริมาณและค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตัวเครื่องถูกออกแบบให้กะทัดรัดและทนทาน ติดตั้งได้ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ห่างไกล พัฒนาขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU CCDC) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากองทุน ววน. เป็น นวัตกรรมเพื่อวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็น เซอร์ และเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ โดยเครื่องวัดฝุ่นมีหลักการทำงางานโดยเทคนิคการกระเจิงแสง (Light Scatteng) สามารถฝุ่น PM2.5 PMM10 อุณหภูมิและความขึ้น สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ พร้อมส่งขัดมูลแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนดผลการวัดได้ www.cmuccdc.org ซึ่งข้อมูลที่ตรวจสอบได้มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือสูงถึง 95%