หลักสูตร “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” (Carbon Footprint of Products: CFP)


โครงสร้างหลักสูตร

เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในหลักการและสามารถประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย และเพื่อนำไปสู่การแสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัทในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีองค์ประกอบของเนื้อหาหลักสูตร ดังนี้

1. ที่มาของการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
2. หลักการพื้นฐานและแนวคิดการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
3. แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย
4. กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Case Study)
5. ขั้นตอนการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
6. การจัดทำข้อกำหนดรายผลิตภัณฑ์สำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (PCRs)
7. ฝึกปฏิบัติการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

1. ผู้ประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาในด้านวิศวการ หรือเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม
2. อาจารย์ในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานเชิงวิศวกรรม
3. ผู้ชำนาญการในภาคอุตสาหกรรมซึ่งอาจมีตำแหน่งหน้าที่บ่งบอกถึงความชำนาญในสาขาที่เหมาะสม
4. ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการสร้างที่ปรึกษาด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์

เป้าประสงค์

1.เข้าใจหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และสามารถคำนวณปริมาณการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางการประเมินคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย
2.ปรับใช้เป็นแนวทางและเป็นเครื่องมือในการประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฏจักรชีวิตให้มีการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้น้อยลง

ระยะเวลาของหลักสูตร

ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ รวมจำนวนทั้งหมด 2 วัน